วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 7 Date 24 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน




หมายเหตุ  อาจารย์ เข้าสอน : 09.00  น.  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการอยู่ที่หอประชุม


องค์ความรู้ที่ได้รับ

      - อาจารย์ทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านมาเกี่ยวกับ  วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการเบื้องต้น
  • กระบวนการผสม
  • วิธีการจัด
  • วิธีการใช้สื่อ



     -  อาจารย์ให้ดู  โทรทัศน์ครู  ตอน Project  Approach  เป็นเทคนิคการสอนที่จะทำให้เด็กๆ สามารถเรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อย่างลุ่มลึกและถ่องแท้




เด็กปฐมวัย
  • วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
  • แสวงหาความรู้  สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
  • วัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
  • ความหมายทักษะการวัด
  • ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
  • ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  • ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปกกับเวลา
ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์
  • มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
  • หลักสูตร์การศึกษา
มาตราฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
  • มาตราฐานด้านผู้เรียน   ---> มาตราฐาน 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคืดสร้าสรรค์
สมองกับวิทยาศาสตร์
  1. ตีข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
  2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
  3. ประเมินคุณค่า
  4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวม
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
  1. สิ่งที่กำหนด  --->  สังเกต / จำแนก / วัด /คำนวณ
  2. หลักการหรือกฏเกณฑ์  --->  เกณฑ์การจำแนก
  3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
เทคนิคการคิดวิเคราะห์  5  W  1  H
  • Who            ใคร
  • What           ทำอะไร
  • Where         ที่ไหน
  • When           เมื่อไหร่
  • Why             ทำไม
  • How              อย่างไร


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 6 Date 17 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



             ** อาจารย์งดการเรียนการสอน

หมายเหตุ   อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ สื่อ ให้โพสลงใน Blogger  ในสัปดาห์นี้ สื่อมี                                 ทั้งหมด  3 ชิ้น  คือ
                    1. สื่อเข้ามุม
                    2. สื่อการทดลอง
                    3. สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

หัวข้อ คือ   

- ชื่อ
- อุปกรณ์
- การเล่น
- หลักการวิทยาศาสตร์



สื่อของดิฉัน


สื่อเข้ามุม >> รูเล็กแต่ดูใหญ่

อุปกรณ์   
                   1. กระดาษแข็ง
                   2. หนังสือ
                   3. คัตเตอร์






วิธีทำ       

                   1. เจาะรูที่กระดาษ  1  รูขนาดเล็ก





                   2. มองผ่านรูกระดาษไปยังตัวอักษรหรือภาพที่ต้องการ





ผลการทดลอง






สื่อการทดลอง >> กิจกรรมน้ำเต้นระบำ

อุปกรณ์
              1. ขวดใส
              2. น้ำมันพืช
              3. สีผสมอาหาร
              4. น้ำเปล่า
              5. อีโน





วิธีการทดลอง

              1. นำน้ำกับสีผสมอาหารมาคนให้เข้ากันในขวดใส






              2. ใส่น้ำมันพืชลงไปในขวดให้มากกว่าน้ำประมาณ  3 - 4  เท่า








              3. ใส่อีโนตามลงไปในขวดใส








ผลการทดลอง












สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ >> กิจกรรมเปลี่ยนสี

อุปกรณ์
               1. กระดาษแข็ง
               2. กระดาษแก้ว
               3. กาว
               4. กรรไกร





วิธีทำ

               1. น้ำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า






               2. เจาะกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกเป็น  3  ช่อง






               3. ติดกระดาษแก้วทั้งสามสีลงไปในแต่ล่ะช่องสลับกัน





           4. นำมาเจาะรูสามรูเข้าด้วยกันแล้วใช้ห่วงคล้องเข้าด้วยกัน






ผลการทดลอง











วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 5 Date 7 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



องค์ความรู้ที่ได้รับ

      - อาจารย์ให้ทุกคนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่แต่ละคนได้ร่างโครงการมา
      - อาจารย์  Comment  งานของแต่ละคน
      - ของดิฉันได้เสนอของเล่นวิทยาศาสตร์  กิจกรรมเปลี่ยนสี  



ของเล่นวิทยศาสตร์ของดิฉัน



นำเสนองาน


      - อาจารย์ให้นำใบไม้มา


ใบไม้ที่ดิฉันเตรียมมา


      - อาจารย์ให้นักศึกษาดูรูปกิจกรรมการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล กุ๊กไก่ ในรูปเด็กเล่นตักน้ำโดยใช้ภาชนะตักน้ำใช้เป็นหน่วยในการนับ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ เด็กทดลองการวัดอุณหภูมิ การเปลี่ยนสถานะของน้ำ เด็กนำกระจกมาอังกับกรวยกาที่ต้มจนเดือดจะกลายเป็นไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำ  การทำหวานเย็นสอนเรื่องการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งพอแข็งตัวจะคงรูปไปตามภาชนะที่ใส่ เด็กๆ ทดลองหยดสีลงไปในน้ำมันเป็นความหนาแน่น  เด็กๆใช้น้ำแข็งสีที่ใช้ น้ำ + สี มาผสมกันแล้วน้ำไปแช่แข็งมาวาดรูป








วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 4 Date 3 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



องค์ความรู้ที่ได้รับ

          - อาจารย์ให้ประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์คนละ 1 ชิ้น โดยร่างโครงมาให้ดูในสัปดาห์หน้า
และให้หาใบไม้ใบใหญ่มาทำว่าวใบไม้
          - อาจารย์ให้ดูอุปกรณ์ของเล่นและถามว่าเด็กได้อะไรจากของเล่นชิ้นนี้
          - อาจารย์ให้กระดาษมาคนละ 2 แผ่น และพับตัดเย็บทำเป็นสมุดเล่มเล็กและให้วาดภาพหน้าที่1และหน้าที่2 3 4 5 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ




         - อาจารย์ถามว่าเมื่อเราเปิดสมุดภาพที่เราเร็วๆและมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้อย่างไร?
         - อาจารณ์ถามว่าของเล่นที่ให้ดูเป็นอย่างไรและเด็กได้อะไรจะของเล่นชิ้นนี้ >> เมื่อแสงกระทบกับวัตถุเวลาเอียงขึ้นทำให้เราสามารถเห็นลูกปิงปอง เด็กเกิดประสบการณ์ทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กซึมซับประสบการณ์ไว้ในสมองก็จะทำให้เด็กเกิดการรับรู้สิ่งใหม่ๆเข้ามาในสมอง
        - อาจารย์ให้ไปศึกษาเกี่ยวกับสมุดเล่มเล็กที่ได้ทำว่าการเปิดอะไรให้เร็วๆและมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้อย่างไร?
        - อาจารย์ให้ดู DVD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ

สรุปได้ว่า

       สิ่งมีชีวิตในโลก  เช่น  คน  สัตว์  ต้นไม้  มีน้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายของคนเรามีน้ำในร่างกาย 70%  ส่วนผักผลไม้มีน้ำมากกว่าร่างกายของเราผักผลไม้มี 90%  น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกประเภทบนโลกใบนี้คนเราสามารถขาดน้ำได้ 3 วัน เท่านั้น


ในทะเลทรายที่แห้งแล้งสิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ฝนตกเกิดจากอะไร

       เมื่อแหล่งน้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าจับตัวกันเป็นก้อนเมฆเมื่อก้อนเมฆกระทบความเย็นบนท้องฟ้าก็จะกลายเป็นหยดฝนลงมา



คุณสมบัติของน้ำ
    - ของแข็ง >> น้ำแข็ง
    - ของเหลว >> น้ำที่เราใช้ดื่มกิน
    - ก๊าซ >> ไอน้ำ
น้ำสามารถขยายตัวได้  >>  สะสารทุกชนิดมีโมเลกุลเป็นส่วนประกอบ  น้ำมีโมเลกุลมากกว่าน้ำแข็งทำให้เมื่อเราเอาน้ำเปล่าไปแช่แข็งพอมันแข็งตัวมันจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม



เราควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 7 แก้ว


น้ำมีแรงกดดัน

ความดันของของเหลวมีลักษณะคล้ากับความดันอากาศ  คือ  เกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้นๆ กดทับลงมา ยิ่งในระดับที่ลึกมากขึ้นของเหลวที่อยู่เหนือตำแหน่งนั้นก็จะมีมากขึ้นทำให้น้ำหนักของของเหลวมีมากขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว
           1. ความลึกของของเหลว
                - ของเหลวไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปร่างใดก็ตามถ้าที่ระดับความลึกเดียวกันความดันของของเหลวจะเท่ากัน

ที่ระดับลึกเดียวกัน  น้ำจะจะมีความดันเท่ากัน


               - แต่ถ้าระดับลึกต่างกัน ของเหลวที่อยู่ระดับลึกกว่าจะมีความดันมากกว่า


ที่ระดับความลึกต่างกัน  น้ำที่ระดับความลึก
มากกว่าจะมีความดันมากกว่า


-  การสร้าเขื่อน ต้องสร้างให้ฐานเขื่อนมีความกว้างมากกว่าสันเขื่อนเพราะแรงดันของน้ำบริเวณฐานเขื่อนมากกว่าแรงดันของน้ำบริเวณสันเขื่อน




เขื่อนต้องสร้างให้ฐานเขื่อนกว้างกว่าสันเขื่อน



ทักษะที่ได้รับ

        - การได้ดู DVD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ  และสรุปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อและของเล่นที่อาจารย์ให้ดู