วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน     ปริญญานิพนธ์ของ ศศิพรรณ   สำแดงเดช


                      การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย - หญิง  อายุ 5- 6 ปี จำนวน15 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552  โรงเรียนวัดไทร  ( ถาวรพรหมานุกุล )
                     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองการทดลองหลังการฟังนิทาน  มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว  พบว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ด้านสังเกต การจำแนก  การสื่อสาร  ทุกด้านสูงขึ้นอย่ามีนัยสำคัญที่ระดับ  .01
                    ผลการวิจัยศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังจากการฟังนิทานรวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองการฟังนิทานให้มี  ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
                    การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที ทำการทดลองในช่วงเวลา  08.30 - 09.00น.  รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
              1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
              2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที ในช่วงเวลา 08.30 - 09.00 น.  ของวันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
              3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับการทดลอง
              4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ





สรุปบทความ

วิทยาศาสตร์ภูมิปัญญาไทย   ตอน  กบไม้  ของเล่นเลียนแบบสัตว์


               หลักการทางวิทยาศาสตร์
                       
               ในช่องท้องของกบจะเป็นโพรงช่องว่าง  ภายในจะมีอากาศอยู่เมื่อเราใช้ไม้ครูตที่สันหลังของมันซึ่งเป็นหนาม ๆ จะเกิดเสียงขึ้น  เสียงนี้จะสั่นสะเทือนผ่านลำตัวกบ  จนไปสั่นสะเทือนอากาศภายในช่องท้องกบ อากาศภายในห้องแคบ ๆ สะท้อนไปมาทำให้เกิดเสียงก้องที่ภาษาอังหกฤษเรียกว่าว่าเสียง  " Echo " นั่นเอง
                ลักษณะนี้จะคล้าย ๆ กับการร้องตะโกนในห้องเล็ก เสียงเราจะก้องกังวานกับไปมาเนื่องจากมันชนผนังของห้องหรือการที่เราตะโกนใส่หน้าผากลับมาหาเราเราจึงได้ยินเสียงเราสะท้อนกลับมา






สรุปองค์ความรู้จากการดูโทรทัศน์ครู


ความพร้อมในการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์เบื้องหลังการทดลอง  ตอน 2 - Ready  to  learn? : The  science  behind  the  experiment 2


                 การแสดงภาพของสมองทั้งหมดโดยนำภาพกราฟฟิคสมองมาฉายหลายครั้งและฉายสลับกับการอธิบายเรื่องสมองกับการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ / นักวิชาการจากหลากหลายแห่งมาอธิบายการทำงานของสมองมนุษย์และมีการแสดงผลการทดลองว่าสมองของมนุษย์นั้นเราสามารถเตรียมและพัฒนาด้วย การกินอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ  ทั้งสามส่วนล้วนแต่มีผลต่อการพัฒนาสมองทั้งสิ้น  ในส่วนของอาหารก็เช่นเดียวกัน  ประเภทของอาหารที่เด็กกินมีผลต่อพัฒนาสมองของเด็กที่แตกต่างกัน  ผลการทดลองพบว่า  เด็กที่กินขนมปัง  แฮม  และชีส  มีการพัฒนาทางสมองที่ต่ำกว่าคนอื่นนอกจากนี้ยังแสดงภาพชีวิตของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมองตามโรงเรียนต่างๆ  ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลังจากผ่านไป  6  เดือน  นักเรียนกลุ่มนี่มีพัฒนาการทางสมองที่ดีมากขึ้น  การเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ก็มีส่วนช่วยพัฒนาสมองด้วยเช่นกัน


การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

               การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เด็กต้องเรียนรู้เรื่อง  พัฒนาการสมองมนุษย์  รายการตอนนี้เป็นรายการที่กล่าวถึง  การพัฒนาสมองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอสาระดังกล่าวในรายการจะเป็นสื่อให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างของการพัฒนาสมองกับกิจวัตรประจำวันของนักเรียนได้


เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

              การนำรายการนี้มาเปนสื่อจัดการเรียนการสอนนั้นจะประสบความสำเร็จในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ก็ต่อเมื่อครูศึกษารายการมาเป็นอย่างดี  วางแผนการใช้รายการว่าในขณะเปิดให้ผู้เรียนดูนั้นตอนไหนบ้างที่ควรหยุดรายการเพื่อชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงประเด็จสำคัญของเรื่ององค์ประกอบของสมอง การพัฒนาสมองกับการกินอาหาร  การออกกำลังกาย  และการพักผ่อนนอนหลับ  ครูจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาของรายกายมาสู่สาระการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนเรื่อง  การทำงานของสมอง  และความสำพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียน  เรื่องการทำงานของสมอง และความสัมพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ชัดเจนและคิดคำถามจากเนื้อหาในรายการมากระตุ้นความคิดของผู้เรียนให้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่ต้องการ


ข้อพึงระวังในการนำไปใช้

            การนำรายการตอนนี้มาเป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีข้อควรระวังในการนำไปใช้คือ  การเชื่อมโยงเนื้อหาของรายการเข้ากับหน่วยการเรียนที่ตรงตามมาตราฐานสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนอีกทั้งคำถามหลังจาการดูรายการควรเป็นคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดไปด้วย  ไม่ควรเป็นเป็นคำถามที่ให้คำตอบว่าอะไร  แต่ควรตอบคำถามทำไมและอย่างไรให้มากกว่า  เพื่อให้เนื้อหาของรายการส่งผลต่อการกระตุ้นทักษะการคิดให้ผู้เรียนด้วย








Week 18 Date 29 September 2013 ( เรียนชดเชย )

กิจกรรมการเรียนการสอน




         - นำเสนอการทดลอง
         - ส่งชิ้นงาน  ได้แก่  ของเล่นวิทยาศาสตร์   และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์




ของเล่นวิทยาศาสตร์   กิจกรรมเปลี่ยนสี





สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์   รูเล็กแต่ภาพใหญ่





นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์









หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีทำ  จะอยู่ในสัปดาห์ที่ 6




Week 17 Date 25 September 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน




   -  อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย







วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 16 Date 18 September 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



          - อาจารย์ให้เตรียมวัตถุดิบมาทำไข่ตุ๋น   ( เป็นวิทยาศาสตร์ในอาหาร )
          - อาจารย์ให้เพื่อนออกมาสอนสาธิตการทำไข่ตุ๋นและให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก
          - หลังจากที่ดูเพื่อสอนสาธิตและได้แบ่งกลุ่มแล้วทำไข่ตุ๋นกันเป็นกลุ่ม









ขั้นตอนการจัดประสบการณ์  Cooking  ไข่ตุ๋นแฟนตาซี
               

1.   ครูจัดให้เด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลมแล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำ  cooking  มาวางเรียงไว้ข้างหน้า
2.   ครูใช้คำถามกับเด็ก  เช่น
      -  เด็กๆเห็นไหมค่ะว่าวันนี้ครูมีอะไรมาให้เด็กๆทำ
      -  เด็กๆคิดว่าครูจะมาทำกิจกรรมอะไรให้เด็กๆดูค่ะ
      -  เด็ก ๆ คนไหนเคยทานไข่ตุ๋นบ้างครั้ง  แล้วเด็กๆคิดว่าไข่ตุ๋นน่าตามันเป็นยังไงค่ะ
3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆดู
4.  ครูให้เด็กอาสาออกมาหั่น แครอท  ต้นหอม  และปูอัด
5.  เด็กๆลงมือทำไข่ตุ๋น
























Week 15 Date 15 September 2013 ( เรียนชดเชย )

กิจกรรมการเรียนการสอน



       - ผู้สอนได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข  Blogger  ของนักศึกษาแต่ละคน
       - ทำกิจกรรมกลุ่ม   เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก

หมายเหตุ    ไม่ได้มาเรียน