วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปองค์ความรู้จากการดูโทรทัศน์ครู


ความพร้อมในการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์เบื้องหลังการทดลอง  ตอน 2 - Ready  to  learn? : The  science  behind  the  experiment 2


                 การแสดงภาพของสมองทั้งหมดโดยนำภาพกราฟฟิคสมองมาฉายหลายครั้งและฉายสลับกับการอธิบายเรื่องสมองกับการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ / นักวิชาการจากหลากหลายแห่งมาอธิบายการทำงานของสมองมนุษย์และมีการแสดงผลการทดลองว่าสมองของมนุษย์นั้นเราสามารถเตรียมและพัฒนาด้วย การกินอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ  ทั้งสามส่วนล้วนแต่มีผลต่อการพัฒนาสมองทั้งสิ้น  ในส่วนของอาหารก็เช่นเดียวกัน  ประเภทของอาหารที่เด็กกินมีผลต่อพัฒนาสมองของเด็กที่แตกต่างกัน  ผลการทดลองพบว่า  เด็กที่กินขนมปัง  แฮม  และชีส  มีการพัฒนาทางสมองที่ต่ำกว่าคนอื่นนอกจากนี้ยังแสดงภาพชีวิตของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมองตามโรงเรียนต่างๆ  ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลังจากผ่านไป  6  เดือน  นักเรียนกลุ่มนี่มีพัฒนาการทางสมองที่ดีมากขึ้น  การเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ก็มีส่วนช่วยพัฒนาสมองด้วยเช่นกัน


การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

               การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เด็กต้องเรียนรู้เรื่อง  พัฒนาการสมองมนุษย์  รายการตอนนี้เป็นรายการที่กล่าวถึง  การพัฒนาสมองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอสาระดังกล่าวในรายการจะเป็นสื่อให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างของการพัฒนาสมองกับกิจวัตรประจำวันของนักเรียนได้


เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

              การนำรายการนี้มาเปนสื่อจัดการเรียนการสอนนั้นจะประสบความสำเร็จในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ก็ต่อเมื่อครูศึกษารายการมาเป็นอย่างดี  วางแผนการใช้รายการว่าในขณะเปิดให้ผู้เรียนดูนั้นตอนไหนบ้างที่ควรหยุดรายการเพื่อชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงประเด็จสำคัญของเรื่ององค์ประกอบของสมอง การพัฒนาสมองกับการกินอาหาร  การออกกำลังกาย  และการพักผ่อนนอนหลับ  ครูจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาของรายกายมาสู่สาระการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนเรื่อง  การทำงานของสมอง  และความสำพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียน  เรื่องการทำงานของสมอง และความสัมพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ชัดเจนและคิดคำถามจากเนื้อหาในรายการมากระตุ้นความคิดของผู้เรียนให้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่ต้องการ


ข้อพึงระวังในการนำไปใช้

            การนำรายการตอนนี้มาเป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีข้อควรระวังในการนำไปใช้คือ  การเชื่อมโยงเนื้อหาของรายการเข้ากับหน่วยการเรียนที่ตรงตามมาตราฐานสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนอีกทั้งคำถามหลังจาการดูรายการควรเป็นคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดไปด้วย  ไม่ควรเป็นเป็นคำถามที่ให้คำตอบว่าอะไร  แต่ควรตอบคำถามทำไมและอย่างไรให้มากกว่า  เพื่อให้เนื้อหาของรายการส่งผลต่อการกระตุ้นทักษะการคิดให้ผู้เรียนด้วย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น