วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน     ปริญญานิพนธ์ของ ศศิพรรณ   สำแดงเดช


                      การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย - หญิง  อายุ 5- 6 ปี จำนวน15 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552  โรงเรียนวัดไทร  ( ถาวรพรหมานุกุล )
                     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองการทดลองหลังการฟังนิทาน  มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว  พบว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ด้านสังเกต การจำแนก  การสื่อสาร  ทุกด้านสูงขึ้นอย่ามีนัยสำคัญที่ระดับ  .01
                    ผลการวิจัยศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังจากการฟังนิทานรวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองการฟังนิทานให้มี  ความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
                    การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที ทำการทดลองในช่วงเวลา  08.30 - 09.00น.  รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
              1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
              2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที ในช่วงเวลา 08.30 - 09.00 น.  ของวันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
              3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับการทดลอง
              4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ





สรุปบทความ

วิทยาศาสตร์ภูมิปัญญาไทย   ตอน  กบไม้  ของเล่นเลียนแบบสัตว์


               หลักการทางวิทยาศาสตร์
                       
               ในช่องท้องของกบจะเป็นโพรงช่องว่าง  ภายในจะมีอากาศอยู่เมื่อเราใช้ไม้ครูตที่สันหลังของมันซึ่งเป็นหนาม ๆ จะเกิดเสียงขึ้น  เสียงนี้จะสั่นสะเทือนผ่านลำตัวกบ  จนไปสั่นสะเทือนอากาศภายในช่องท้องกบ อากาศภายในห้องแคบ ๆ สะท้อนไปมาทำให้เกิดเสียงก้องที่ภาษาอังหกฤษเรียกว่าว่าเสียง  " Echo " นั่นเอง
                ลักษณะนี้จะคล้าย ๆ กับการร้องตะโกนในห้องเล็ก เสียงเราจะก้องกังวานกับไปมาเนื่องจากมันชนผนังของห้องหรือการที่เราตะโกนใส่หน้าผากลับมาหาเราเราจึงได้ยินเสียงเราสะท้อนกลับมา






สรุปองค์ความรู้จากการดูโทรทัศน์ครู


ความพร้อมในการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์เบื้องหลังการทดลอง  ตอน 2 - Ready  to  learn? : The  science  behind  the  experiment 2


                 การแสดงภาพของสมองทั้งหมดโดยนำภาพกราฟฟิคสมองมาฉายหลายครั้งและฉายสลับกับการอธิบายเรื่องสมองกับการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ / นักวิชาการจากหลากหลายแห่งมาอธิบายการทำงานของสมองมนุษย์และมีการแสดงผลการทดลองว่าสมองของมนุษย์นั้นเราสามารถเตรียมและพัฒนาด้วย การกินอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ  ทั้งสามส่วนล้วนแต่มีผลต่อการพัฒนาสมองทั้งสิ้น  ในส่วนของอาหารก็เช่นเดียวกัน  ประเภทของอาหารที่เด็กกินมีผลต่อพัฒนาสมองของเด็กที่แตกต่างกัน  ผลการทดลองพบว่า  เด็กที่กินขนมปัง  แฮม  และชีส  มีการพัฒนาทางสมองที่ต่ำกว่าคนอื่นนอกจากนี้ยังแสดงภาพชีวิตของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาสมองตามโรงเรียนต่างๆ  ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลังจากผ่านไป  6  เดือน  นักเรียนกลุ่มนี่มีพัฒนาการทางสมองที่ดีมากขึ้น  การเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ก็มีส่วนช่วยพัฒนาสมองด้วยเช่นกัน


การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

               การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เด็กต้องเรียนรู้เรื่อง  พัฒนาการสมองมนุษย์  รายการตอนนี้เป็นรายการที่กล่าวถึง  การพัฒนาสมองด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอสาระดังกล่าวในรายการจะเป็นสื่อให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างของการพัฒนาสมองกับกิจวัตรประจำวันของนักเรียนได้


เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

              การนำรายการนี้มาเปนสื่อจัดการเรียนการสอนนั้นจะประสบความสำเร็จในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ก็ต่อเมื่อครูศึกษารายการมาเป็นอย่างดี  วางแผนการใช้รายการว่าในขณะเปิดให้ผู้เรียนดูนั้นตอนไหนบ้างที่ควรหยุดรายการเพื่อชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงประเด็จสำคัญของเรื่ององค์ประกอบของสมอง การพัฒนาสมองกับการกินอาหาร  การออกกำลังกาย  และการพักผ่อนนอนหลับ  ครูจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาของรายกายมาสู่สาระการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนเรื่อง  การทำงานของสมอง  และความสำพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียน  เรื่องการทำงานของสมอง และความสัมพันธ์ของสมองกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ชัดเจนและคิดคำถามจากเนื้อหาในรายการมากระตุ้นความคิดของผู้เรียนให้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่ต้องการ


ข้อพึงระวังในการนำไปใช้

            การนำรายการตอนนี้มาเป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีข้อควรระวังในการนำไปใช้คือ  การเชื่อมโยงเนื้อหาของรายการเข้ากับหน่วยการเรียนที่ตรงตามมาตราฐานสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนอีกทั้งคำถามหลังจาการดูรายการควรเป็นคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดไปด้วย  ไม่ควรเป็นเป็นคำถามที่ให้คำตอบว่าอะไร  แต่ควรตอบคำถามทำไมและอย่างไรให้มากกว่า  เพื่อให้เนื้อหาของรายการส่งผลต่อการกระตุ้นทักษะการคิดให้ผู้เรียนด้วย








Week 18 Date 29 September 2013 ( เรียนชดเชย )

กิจกรรมการเรียนการสอน




         - นำเสนอการทดลอง
         - ส่งชิ้นงาน  ได้แก่  ของเล่นวิทยาศาสตร์   และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์




ของเล่นวิทยาศาสตร์   กิจกรรมเปลี่ยนสี





สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์   รูเล็กแต่ภาพใหญ่





นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์









หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีทำ  จะอยู่ในสัปดาห์ที่ 6




Week 17 Date 25 September 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน




   -  อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย







วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 16 Date 18 September 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



          - อาจารย์ให้เตรียมวัตถุดิบมาทำไข่ตุ๋น   ( เป็นวิทยาศาสตร์ในอาหาร )
          - อาจารย์ให้เพื่อนออกมาสอนสาธิตการทำไข่ตุ๋นและให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก
          - หลังจากที่ดูเพื่อสอนสาธิตและได้แบ่งกลุ่มแล้วทำไข่ตุ๋นกันเป็นกลุ่ม









ขั้นตอนการจัดประสบการณ์  Cooking  ไข่ตุ๋นแฟนตาซี
               

1.   ครูจัดให้เด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลมแล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำ  cooking  มาวางเรียงไว้ข้างหน้า
2.   ครูใช้คำถามกับเด็ก  เช่น
      -  เด็กๆเห็นไหมค่ะว่าวันนี้ครูมีอะไรมาให้เด็กๆทำ
      -  เด็กๆคิดว่าครูจะมาทำกิจกรรมอะไรให้เด็กๆดูค่ะ
      -  เด็ก ๆ คนไหนเคยทานไข่ตุ๋นบ้างครั้ง  แล้วเด็กๆคิดว่าไข่ตุ๋นน่าตามันเป็นยังไงค่ะ
3.  ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบที่เตรียมมาให้เด็กๆดู
4.  ครูให้เด็กอาสาออกมาหั่น แครอท  ต้นหอม  และปูอัด
5.  เด็กๆลงมือทำไข่ตุ๋น
























Week 15 Date 15 September 2013 ( เรียนชดเชย )

กิจกรรมการเรียนการสอน



       - ผู้สอนได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข  Blogger  ของนักศึกษาแต่ละคน
       - ทำกิจกรรมกลุ่ม   เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก

หมายเหตุ    ไม่ได้มาเรียน




วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 14 Date 11 September 2013


       ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจทางราชการที่ต่างจังหวัด

หมายเหตุ    ได้มอบหมายให้เตรียมรูปและเอกสารที่ไปศึกษาดูงานไว้ให้เรียบร้อย





Week 13 Date 4 September 2013


         ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจทางราชการ

Week 12 Date 28 August 2013


          ศึกษาดูงาน  วันที่ 27-28  สิงหาคม  2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสีธรรมราช  และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  จ.บุรีรัมย์



สรุปความรู้ที่ได้จาก   โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา






สรุปความรู้ที่ได้จาก   โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา   จังหวัดบุรีรัมย์







รวมภาพกิจกรรมที่ไปศึกษาดูงานครั้งนี้








Week 11 Date 21 August 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



               ไม่มีการเรียนการสอน    เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานให้ทำดังนี้

      1. การทดลองวิทยาศาสตร์
      2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
      
กิจกรรมทุกชิ้นต้องมีลงใน  Blogger





วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 10 Date 7 August 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



            -  อาจารย์พูดถึงโครงการศึกษาดูงานของนักศึกษาปฐมวัย  คณะศึกษาศาสตร์   แบ่งหน้าที่ในการทำงานกัน
            -  อาจารย์ตรวจ  Blogger  ว่าใครขาดอะไรหรือต้องเปลี่ยนแปลงตรงไหน
            -  อาจารย์ให้ทำการทดลองของแต่ละคนลงใน  Blogger  
            - อาจารย์ให้ทดลองเรื่องใบไม้ว่าทำไมมันถึงลอยได้


การทดลองใบไม้




สาเหตุที่ใบไม้ลอยได้

        เพราะเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อวัตถุที่บางเบา  ทำให้ใบไม้แห้งสามารถลอยตัวในอากาศได้
      





วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 9 Date 7 August 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



                ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่อาจารย์ให้เข้าร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม    โครงการ  กายงาม  ใจดี  ศรีปฐมวัย   ณ หอประชุม 2  คณะศึกษาศาสตร์




ภาพกิจกรรม








วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 7 Date 24 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน




หมายเหตุ  อาจารย์ เข้าสอน : 09.00  น.  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการอยู่ที่หอประชุม


องค์ความรู้ที่ได้รับ

      - อาจารย์ทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านมาเกี่ยวกับ  วิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการเบื้องต้น
  • กระบวนการผสม
  • วิธีการจัด
  • วิธีการใช้สื่อ



     -  อาจารย์ให้ดู  โทรทัศน์ครู  ตอน Project  Approach  เป็นเทคนิคการสอนที่จะทำให้เด็กๆ สามารถเรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อย่างลุ่มลึกและถ่องแท้




เด็กปฐมวัย
  • วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
  • แสวงหาความรู้  สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
  • วัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
  • ความหมายทักษะการวัด
  • ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
  • ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  • ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปกกับเวลา
ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์
  • มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
  • หลักสูตร์การศึกษา
มาตราฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
  • มาตราฐานด้านผู้เรียน   ---> มาตราฐาน 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคืดสร้าสรรค์
สมองกับวิทยาศาสตร์
  1. ตีข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
  2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
  3. ประเมินคุณค่า
  4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวม
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
  1. สิ่งที่กำหนด  --->  สังเกต / จำแนก / วัด /คำนวณ
  2. หลักการหรือกฏเกณฑ์  --->  เกณฑ์การจำแนก
  3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
เทคนิคการคิดวิเคราะห์  5  W  1  H
  • Who            ใคร
  • What           ทำอะไร
  • Where         ที่ไหน
  • When           เมื่อไหร่
  • Why             ทำไม
  • How              อย่างไร


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Week 6 Date 17 July 2013

กิจกรรมการเรียนการสอน



             ** อาจารย์งดการเรียนการสอน

หมายเหตุ   อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ สื่อ ให้โพสลงใน Blogger  ในสัปดาห์นี้ สื่อมี                                 ทั้งหมด  3 ชิ้น  คือ
                    1. สื่อเข้ามุม
                    2. สื่อการทดลอง
                    3. สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

หัวข้อ คือ   

- ชื่อ
- อุปกรณ์
- การเล่น
- หลักการวิทยาศาสตร์



สื่อของดิฉัน


สื่อเข้ามุม >> รูเล็กแต่ดูใหญ่

อุปกรณ์   
                   1. กระดาษแข็ง
                   2. หนังสือ
                   3. คัตเตอร์






วิธีทำ       

                   1. เจาะรูที่กระดาษ  1  รูขนาดเล็ก





                   2. มองผ่านรูกระดาษไปยังตัวอักษรหรือภาพที่ต้องการ





ผลการทดลอง






สื่อการทดลอง >> กิจกรรมน้ำเต้นระบำ

อุปกรณ์
              1. ขวดใส
              2. น้ำมันพืช
              3. สีผสมอาหาร
              4. น้ำเปล่า
              5. อีโน





วิธีการทดลอง

              1. นำน้ำกับสีผสมอาหารมาคนให้เข้ากันในขวดใส






              2. ใส่น้ำมันพืชลงไปในขวดให้มากกว่าน้ำประมาณ  3 - 4  เท่า








              3. ใส่อีโนตามลงไปในขวดใส








ผลการทดลอง












สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ >> กิจกรรมเปลี่ยนสี

อุปกรณ์
               1. กระดาษแข็ง
               2. กระดาษแก้ว
               3. กาว
               4. กรรไกร





วิธีทำ

               1. น้ำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า






               2. เจาะกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกเป็น  3  ช่อง






               3. ติดกระดาษแก้วทั้งสามสีลงไปในแต่ล่ะช่องสลับกัน





           4. นำมาเจาะรูสามรูเข้าด้วยกันแล้วใช้ห่วงคล้องเข้าด้วยกัน






ผลการทดลอง